25 สิงหาคม 2552

สายพันธุ์ของเจ้าแมวเหมียวๆๆๆๆ

"แมวเบงกอล"

ใครที่แอบชอบในความน่ารัก(ไม่นับนิสัยดุร้าย) ของเสือ จนอยากเข้าไปกอด หรือมีไว้ในครอบครองดูบ้าง แต่ก็ได้แต่ฝันเพราะหากเป็นเรื่องจริงคงถูกเจ้าเสือขย้ำเอาเสียก่อน ถ้างั้น... ลองมาดู "แมวเบงกอล" แมวป่าที่ผสมกับแมวบ้าน จนเกิดลวดลายสวยงาม รูปร่างหน้าตาไม่ต่างจากแมวบ้าน ดูไปดูมาเหมือนลูกเสือดาวน้อย และยังเป็นที่นิยมในหมู่ไฮโซด้วย เพราะสนนราคาต่อตัวค่อนข้างสูง



ที่สำคัญนิสัยของเจ้าแมวเบงกอลก็ไม่ได้ดุดันอย่างที่กำลังคิดกันด้วยนะ แถมยังเชื่องแสนเชื่อง เป็นมิตร ชอบอยู่กับคน น่ารัก และคล่องแคล่วปราดเปรียว มีนิสัยชอบวิ่งไล่สิ่งของ หรือวัตถุ ชอบปีนป่าย ชอบไล่จับหนู หากไม่มีอะไรให้เล่นก็จะของเล่นด้วยตัวเอง มีเสียงร้องที่ฟังแล้วเหมือนแมวป่าค่อนข้างมาก ส่วนสัญชาตญาณความเป็นสัตว์ป่าที่คงหลงเหลือให้เห็นอยู่ กลับกลายเป็นลักษณะเด่นของแมวเบงกอล นั่นคือ ความมั่นใจในตนเอง ความกล้าหาญ ไม่ขลาดกลัว และความเฉลียวฉลาดในการเอาตัวรอด และที่แตกต่างจากแมวเกือบทุกชนิดอย่างมาก คือ แมวเบงกอลมีนิสัยชอบเล่นน้ำอย่างมาก!?!?!



ทั้งนี้ แมวเบงกอล (Bengal) เป็นแมวที่ผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างแมวดาว (Asian Leopard Cat) กับแมวบ้าน (Domestic Shorthair) ในที่นี้คือ Egyptian Mau คือ พันธุ์แมวอียิปต์โบราณ และมีโครงสร้างเป็นหลายจุด มีลักษณะที่เหมือนแมวป่า (wild cat) ซึ่งการผสมข้ามสายพันธุ์ของแมวดาว กับ E.Mau and Ocicat



การกำเนิดขึ้นของแมวเบงกอล เริ่มโดยคุณ Jean Mills หญิงชาวมลรัฐอริโซนา ประเทศอเมริกาที่หลงใหลในลวดลายของแมวป่า เธอใช้เวลาถึง 20 ปี (เริ่มมาตั้งแต่ปี 1980 หรือ 2523) ในการพัฒนาให้มีจุด (Spotted ที่ใหญ่และแมวตัวผู้ไม่เป็นหมัน (แมวตัวผู้จะเป็นหมันใน F1 and F2) จนสามารถสร้างจุดให้ใหญ่และมีสีที่ตัดกันในจุดมากขึ้นด้วย และเธอตั้งชื่อสายพันธุ์นี้ว่า เบงกอล ตามชื่อวิทยาศาสตร์ของแมวป่าที่เรียกกันว่า Felis bengolensis นั่นเอง

"ลักษณะประจำพันธุ์"



แมวเบงกอล เป็นแมวขนาดปานกลางถึงค่อนข้าง หัวมีความยาวมากกว่ากว้าง เนื่องเพราะถูกผสมโดยควบคุมลักษณะให้มีรูปร่างคล้ายแมวป่า เพรียว ยาว เห็นมัดกล้ามเนื้อแบบนักล่าชัดเจน โฑดยที่มักจะมีความสูงส่วนสะโพกสูงกว่าความสูงของช่วงไหล่ หาวส่วนมากจะมีปลายชี้ลง ใบหูกลม สั้น ตารูปไข่ (oval) ช่วงโคนหนวดเด่น ช่วงปากและรอบจมูกกลมกว่าแมวบ้าน จุดที่เด่นที่สุดของแมวเบงกอลได้แก่ลายแลีสีขนที่อาจเป็นจุดแบบแมวป่า หรือลายหินอ่อน



หากเริ่มสนใจจะหาเจ้าเหมียวพันธุ์เบงกอลมานอนกอดสักตัวแล้วล่ะก็ ต้องเลือกซื้อแมวเบงกอลที่มีสายตา ต้อง มีโครงสร้างใหญ่ ลำตัวยาว มีลวดลายบนตัวที่เด่นชัดขนาดเท่าหัวแม่มือ จุดด้านข้างลำตัวมีขนาดใหญ่และเรียงตัวอย่างไม่เป็นระเบียบในแนวนอน แมวเบงกอลบางตัวจะมีลวดลายโรเซ็ทที่เป็นจุดขนาดใหญ่ที่มีสีอ่อนกว่าตรงกลาง จุด คล้ายๆ กับลายของเสือจากัวร์ ซึ่งเป็นที่ต้องการมากกว่าแมวที่มีจุดสีเดียวตามปกติ …



ลายทางที่หน้าผากควรมีสีเข้ามลากยาวในแนวนอนจากหางตาไปถึงใบหู และควรมีเส้นสีเข้มเป็นสร้อยคอยาวรอบๆ คอเฉียบคม ขนเงานุ่ม ใบหน้าของลูกแมวนั้นต้องมีลักษณะที่แสดงถึงความเป็นแมวป่า มีขอบตาดำสนิท เส้นที่ใบหน้าเข้ม ริมฝีปากใหญ่เต็ม มีหางที่หนา มีจุดที่ขาหรือเป็นวงที่ไม่เต็มวงรอบๆขา มีสีอ่อนบริเวณรอบปาก คอ และขาด้านใน ดวงตานั้นสามารถจะเป็นสีเขียว สีทอง หรือสีเหลือง



"อาหารและการเลี้ยงดู"



ปัจจุบันแมวเบงกอลเริ่มเป็นที่รู้จักในไทยมากขึ้น แต่อาจยังแพร่หลายเช่นแมวชนิดอื่นๆ เนื่องจากยังมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น เมื่อตัดสินใจซื้อมาแล้ว ควรใส่ใจดูแลอย่างดี ซึ่งวิธีการเลี้ยงก็ใกล้เคียงกับแมวทั่วๆ ไป เพราะถือป็นแมวบ้านเช่นเดียวกับแมวสายพันธุ์อื่น



แต่ถ้าหากอยากให้แมวสวย สุขภาพดี และมีขนที่สวยงาม การเลือกอาหารที่ดีให้กับแมวนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ อาหารสำเร็จรูปที่ดีจะช่วยให้คุณมั่นใจว่าขนและสุขภาพของแมวนั้นจะสวยที่สุด ส่วนเรื่องของการตัดเล็บ อาบน้ำ แปรงขน เช็ดหู และทำความสะอาดส่วนต่างๆนั้น จะเหมือนกับแมวทั่วๆ ไป



เรื่องอาหาร แมวเบงกอลอาจจะต้องการเนื้อสัตว์ในปริมาณที่มากกว่าแมวทั่วไปเล็กน้อย โดยผู้เลี้ยงอาจจะให้เนื้อวัวสดวันละครั้งเพิ่มเติมจากอาหารที่กินอยู่เป็นประจำ ซึ่งจะไม่ทำให้ท้องเสียหรือเสียสุขภาพ เนื้อสดที่ให้ควรระมัดระวังความสะอาดด้วยการแช่แข็งเอาไว้เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย และควรเก็บเนื้อที่เหลือทิ้งทันที อย่างไรก็ตาม ห้ามให้เนื้อไก่หรือเนื้อหมูสดเด็ดขาดขอขอบคุณข้อมูลจาก



- thaipost.net



- bangkokbengals.net


----------------------------------



" แมวขาวมณี "



ลักษณะประจำพันธุ์ของแมวขาวมณี


"ลักษณะสีขน"

ขนสั้นแน่นและอ่อนนุ่ม สีขาวไม่มีสีอื่นปน สีผิวหนังเป็นสีขาวปลอดทั้งตัว



"ลักษณะของส่วนหัว"

รูปร่างไม่กลม หรือแหลมเกินไป แต่คล้ายรูปหัวใจ ผน้าผากใหญ่และแบน จมูกสั้น หูตั้งใหญ่



"ลักษณะของนัยน์ตา"

นัยน์ตาสีฟ้า หรือสีเหลืองอำพัน



"ลักษณะของหาง"

หางยาว ปลายหางแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขาวยาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว



"ลักษณะที่เป็นข้อด้อยของพันธุ์"

ขนมีสีอืนปน นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี


--------------------------------------




" แมวเปอร์เซีย "




แมวเปอร์เซีย ถือเป็นราชินีแมวจากแดนตะวันออกกลางที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก เพราะเป็นแมวขนยาว หน้าตาน่าเอ็นดู หัวกลมสวย ตากลมโต มีหลายสีขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ รวมถึงหน้าตาก็มีหลายแบบ มีอุปนิสัยอ่อนโยน เข้ากับคนง่าย ร่าเริงซุกซน ชอบประจบประแจง และมีไหวพริบ ซึ่งแมวพันธุ์นี้นับเป็นแมวต่างประเทศที่ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นพันธุ์แรกด้วย

แมวเปอร์เซียมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเปอร์เซีย หรือประเทศตุรกี และอิหร่านในปัจจุบัน โดยในปี ค.ศ. 1684 ได้มีการบันทึกลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับที่มาของ แมวเปอร์เซีย หรือแมวเปอร์เซียน (Persian Cats) ว่า พ่อค้าทะเลทราย (หรือที่เรียกว่ากองคาราวาน) ทางแถบๆ ตะวันตกของตุรกีและอิหร่าน มักบรรทุกสินค้ามากมาย อาทิเครื่องเทศน์ อัญมณี และสินค้ามีค่าอื่นๆ ซึ่งบางครั้งก็มีแมวขนยาวติดมาด้วย แมวขนยาวนั้นถูกซื้อโดยกะลาสีและได้นำแมวติดไปกับเรือสินค้าเดินทางเข้าทวีป ยุโรป ซึ่งหลายปีต่อมาแมวพันธุ์นั้นถูกรู้จักในชื่อ เตอร์กิส แองโกร่า (Turkish Angora)

ต่อมาในปลายศรรตวรรษที่ 19 ชาวอังกฤษเริ่มผสมพันธุ์แมวเตอร์กิส แองโกร่า กับแมวสายพันธุ์อื่น และพัฒนาจนได้แมวที่มีขนหนาและยาวกว่าเดิม กระทั่งในที่สุดแมวพันธุ์นี้ก็ได้รับการยอมรับและจดทะเบียนขึ้นที่ประเทศอังกฤษในชื่อว่า Longhair ซึ่งชื่อของมันก็ถูกตั้งขึ้นตามประเทศต้นกำเนิดนั่นเอง
นอกจากประเทศอังกฤษแล้ว แมวเปอร์เซียยังถูกนำไปเลี้ยงในประเทศต่างๆ ทั้งยุโรปและอเมริกามานานหลายร้อยปี ซึ่งอเมริกาจะเรียกแมวพันธุ์นี้ว่า Persian

"ลักษณะสายพันธุ์"

แมวเปอร์เซีย เป็นแมวที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีกระดูกที่ใหญ่และแข็งแรง หัวและหน้ากลม หน้าผากโหนก แก้มเต็ม ดวงตากลมโต และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน มีจมูกที่หัก กล่าวคือ สังเกตได้ชัดเจนเมื่อมองจากด้านข้างจะเห็นจุดหักระหว่างจมูกกับหน้าผากชัดเจน เมื่อมองจากด้านหน้าจะเห็นเป็นขีดอยู่ระหว่างดวงตา


สำหรับแมวเปอร์เซียที่มีลักษณะตรงตามมาตรฐานสายพันธุ์ ควรจะมีจมูกอยู่ในระดับเดียวกับตา โครงสร้างลำตัวสั้น ขาสั้นเตี้ย หูเล็กมีปลายหูที่กลมมน และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน หางสั้นและตรง ไม่มีรอยหัก ขนยาวฟู มีท่วงท่าการเดินดูสง่างาม ทั้งนี้ แมวเปอร์เซียในสมัยแรกๆ มีรูปร่างหน้าตาที่ต่างจากแมวเปอร์เซียในปัจจุบันมากทีเดียว ปัจจุบันมันถูกพัฒนาให้มีรูปร่างที่สั้นขึ้น ขนยาวขึ้น ถูกเปลี่ยนแปลงโครงร่างให้ใหญ่และกลม จมูกสั้นและหักมากขึ้น


อย่างไรก็ตาม แมวเปอร์เซียถูกแบ่งออกเป็น 7 ชนิด โดยแบ่งตามสี และลักษณะเป็นหลัก ดังนี้


1.Solid colour ขนจะเป็นสีเดียวตลอดตัว ไม่ควรมีสีอื่นแซมเลย สีจะต้องเสมอกันตลอด เช่น white ขนสีขาวบริสุทธิ์, blue ขนสีเทาเข้ม, black สีขนดำสนิท, red ขนสีแดงเข้มและสดใส, cream ขนสีครีมเข้ม, chocolate ขนสีน้ำตาสช็อกโกแลต, lilac ขนสีลาเวนเดอร์

2.Sliver&Golden ตาจะเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมน้ำเงินเท่านั้น
3.Shade&Smoke จะมีสีขน 3 แบบ คือแบบ Shell จะมีสีที่ปลายขนเพียงเล็กน้อย แบบ Shade จะมีส่วนที่เป็นสีมากกว่า และแบบ Smoke จะมีสีมากกว่าแบบ Shade

4.Tabby จะมีลวดลายที่เป็นที่ยอมรับอยู่ 2 แบบ คือ Classic และ Mackerel

5.Parti-colour จะเกิดขึ้นเฉพาะเพศเมียเท่านั้น อันสืบเนื่องมาจากการสืบทอดทางโครโมโซม

6.Calico & Bi-Color สีทั่วไปตาจะเป็นสีทองแดง ถ้าเป็นตาสองสีตาข้างหนึ่งจะเป็นสีฟ้า อีกข้างเป็นสีทองแดง ความเข้มของสีตาทั้งสองข้างเท่าๆ กัน
7.Himalayan เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแมวไทยวิเชียรมาสกับแมวเปอร์เซีย จะมีลักษณะแต้มสีตำแหน่งเดียวกับแมววิเชียรมาส คือหูทั้งสองข้าง ที่หน้าครอบเหมือนหน้ากาก ขาทั้งสี่ ตาสีฟ้าสดใส

"อาหารและการเลี้ยงดู"


อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า แมวเปอร์เซียเป็นแมวสายพันธุ์ต่างประเทศ ค่าเลี้ยงดูและค่าตัวอาจแพงสักหน่อย ทั้งนี้ ราคาของแมวเปอร์เซีย มีตั้งแต่หลักพันถึงหลักแสน ขึ้นกับเกรดของสายพันธุ์ สามารถแบ่งได้เป็น


** เกรดเพ็ด(PET Quality) ส่วนมากเป็นแมวที่เลี้ยงตามบ้านทั่วไป ราคาประมาณ 5,000-15,000 บาท จมูกยาว หน้าไม่บี้ หรือเรียกว่าหน้าตุ๊กตา


** เกรดทำพันธุ์และโชว์(Breed and Show Quality) ส่วนมากเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ เลี้ยงไว้เพื่อประกวด หรือโชว์ มีลักษณะของแมวเปอร์เซียที่ดีครบ โดยหน้าจะบี้ คือ จมูกและตาเกือบเสมอกัน


นอกจากนี้ ระดับของราคายังแบ่งเป็นสายพันธุ์ในประเทศอยู่ที่ 25,000-35,000 บาท สายพันธุ์นำเข้า 35,000-100,000 บาท หรือมากกว่านั้น ขึ้นกับสุขภาพของแมว และลักษณะเด่นตามสายพันธุ์


เมื่อตัดสินใจจะเลี้ยงแมวพันธุ์นี้แล้ว จงพึงระลึกไว้เสมอว่า การดูแลขนของแมวเปอร์เซียเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ผู้เลี้ยงต้องหมั่นทำความสะอาดถึงการแปลงและสางขนแมวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันการเกิดขนพันกัน เพราะการที่ขนพันกันเป็นกระจุกนั้นจะเป็นแหล่งเพาะเชื่อโรครวมทั้งพยาธิต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังอักเสบและเป็นที่อยู่ของเห็บหมัดอีกด้วย

ในเรื่องของอาหารการกินนั้น ควรเลือกอาหารที่ช่วยให้ทางเดินอาหารของแมวไม่อุดตัน เนื่องจากแมวเปอร์เซียจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเลียทำความสะอาดขน อันเป็นสาเหตุในการกินหรือกลืนเส้นขนเข้าไปเป็นจำนวนมาก หากเส้นขนจะไปรวมตัวกันในช่องท้องจะทำให้แมวเปอร์เซียสำรอกหรือเกิดปัญหาของระบบย่อยอาหารได้


"โรคและวิธีการป้องกัน"


โรคที่พบบ่อยในแมวเปอร์เซียนั้นส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นและถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคหายใจขัด หอบ หรือ ท่อน้ำตาอุดตัน เป็นต้น นอกจากนี้ แมวเปอร์เซียที่มีสีขาวรวมถึงแมวเปอร์เซียที่มีตาสีฟ้าหรือตาข้างละสีมักมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด คือ หูหนวก อีกด้วย



อย่างไรก็ตาม โรคท่อน้ำตาอุดตัน และปัญหาคราบน้ำตา เป็นปัญหาที่พบบ่อยและถูกถามถึงมากที่สุด อาการที่พบ คือ มีน้ำตา ไหลในตาข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ไม่มีอาการหรี่ตา น้ำตาที่ไหลออกมาเป็นน้ำตาใสๆ ร่วมกับมีคราบติดบริเวณร่องจมูก ซึ่งโรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรม เกิดจากการสะสมของแบคทีเรียในท่อน้ำตา เนื่องจากท่อน้ำตาและโพรงจมูกของแมวเปอร์เซียคดไปคดมา


เมื่อเจ้าเหมียวของคุณประสบปัญหานี้เข้า การแก้ปัญหาเบื้องต้น ผู้เลี้ยงอาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเคอยเช็ดคราบน้ำตาเป็นประจำ เพราะหากปล่อยไว้จนแห้ง อาจเช็ดไม่ออก หมดสวยหมดหล่อไม่รู้ด้วยนะคะ


แต่ถ้าหากมีคราบน้ำตามเยอะและข้นกว่าปกติ อาจต้องใช้ยาป้ายตาร่วมกับการเช็ดคราบน้ำตา หรืออาจพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อล้างท่อน้ำตา และทำการรักษาต่อไปขอขอบคุณข้อมูลจาก